วันศุกร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2557

แชร์เปรียบเทียบYFU & AFS ข้อเขียนและสัมภาษณ์

สวัสดีค่ะ วันนี่เราจะมาอธิบายเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กที่กำลังหาโครงการแลกเปลี่ยนไปต่างประเทศได้อ่านกัน เนื่องจากคนเขียนรีวิว(?)แบบนี้น้อยเหลือเกิน ทำให้เราอยากเขียนอธิบายไว้ให้รุ่นต่อๆไปได้อ่าน โดยเฉพาะคนที่กำลังตื่นเต้นก่อนวันสอบ เราเข้าใจว่ามันเป็นยังไง55555 (แบบว่าหาข้อมูลว่าปีก่อนๆสอบแบบไหน)ยังไงก็ลองอ่านกับดูนะคะ

YFU

ข้อสอบข้อเขียน: เป็นข้อสอบSLEP test ที่มีทั้งหมดสามพาร์ทแบ่งเป็น Listening Reading Writing ความยากคือไม่ยากเลย โดยเฉพาะพาร์ทการฟัง (ควรเก็บคะแนนให้มากจากพาร์ทนี้) ส่วนพาร์ทที่เหลือถือว่ายากขึ้นมาอีกนิด ศัพท์จะไม่พิสดารมาก ถ้าใครเก่งๆจะทำได้สบายๆ(หรืออย่างเราก็สมบุกสมบันพอตัว ;-;) 
ข้อสอบสัมภาษณ์: มีกรรมการหลายโต๊ะ แล้วแต่ว่าใครจะโชคดีได้ครูคนไหนสัมภาษณ์ เพื่อนที่รู้จักโดนสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด แต่เราตอนเข้าไปโชคดี ได้สัมภาษณ์เป็นภาษาไทยหมด แค่เล่าให้เขาฟังว่าเป็นใครกำกิจกรรมอะไรบ้าง (กรรมการใจดีมากกกก เป็นครูผู้หญิงดูมีอายุ)
กิจกรรมกลุ่ม: จะมีกิจกรรมกลุ่มให้ทำ เช่นมีหนังสือพิมพ์แล้วให้ทำเป็นสินค้าเกี่ยวกับไทยๆ ให้ทุกคนร่วมเสนอข้อคิดเห็น โดยจะมีพี่ๆของโครงการจับตาดูอยู่ ถ้าเราให้ความร่วมมือกับกิจกรรมมากๆ เขาจะให้คะแนนสูง

เพิ่มเติม: ถ้าใครจะสอบประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสจะต้องสอบภาษาฝรั่งเศสด้วยนะคะ เช่น ฝรั่งเศส เบลเยี่ยมฝรั่งเศสฯลฯ เท่าที่ถามเพื่อนมา เขาเน้นเรื่องเพศของคำ(แล้วแต่ปีมั้งงง อย่าเชื่อเรามาก) 

อีกเรื่อง ตอนที่ไปสอบ เขาจะแบ่งเราออกเป็นกรุ๊ปๆ แล้วสลับกับไปห้องสอบข้อเขียน,ห้องสอบสัมภาษณ์และห้องกิจกรรมกลุ่ม เราจะต้องเดินวนสลับกัน และอุปสรรคก็คือช่วงพักกลางวัน เราไปกินข้าว พอมาอีกทีก็เลยช่วงที่เราต้องสอบสัมภาษณ์ไปแล้ว เราเลยต้องไปมั่วกับกลุ่มอื่น (_ _) การจัดการยังงงๆ แต่หักลบกับสอบไม่ยากมากก็โอเคค่ะ! 

AFS

ข้อสอบข้อเขียน: ของเอเอฟเอสข้อสอบจะยากกว่าของYFU เปิดมาก็readingเลย ถ้าจำไม่ผิด5555 แล้วก็จะมีข้อสอบวิเคราะห์แล้วตอบจากข้อมูลที่ให้เช่น ตารางรถบัส เป็นต้น ส่วนwriting partจะอยู่ท้ายๆ เหมือนข้อสอบErrorทั่วไปค่ะ ส่วนตัวอย่างข้อสอบจะได้ทันทีที่สมัครสอบ จะเป็นข้อสอบจากปีก่อน หรือถ้าอยากดูของปีอื่นๆในเน็ตมีค่ะ โดยรวมคือสอบเสร็จก็เป๋ไปเลย แต่ไม่ต้องห่วง คนส่วนใหญ่ที่สอบจะผ่านค่ะ(แม้ว่าจะยากก็เถอะ) ประมาณ5ใน7ที่ผ่าน เห็นเขาว่ากันอย่างนี้นะคะ -..-
ข้อสอบสัมภาษณ์: วันสัมภาษณ์แยกกับวันสอบข้อเขียน สัมภาษณ์มีสองส่วนคือสัมภาษณ์เดี่ยวและสัมภาษณ์กลุ่ม กลุ่ม จะให้ทำกิจกรรมร่วมกันเช่นเล่นเกมต่างๆ แต่ที่เราเจอทั้งสองปีที่เคยสอบคือทำทัวร์แนะนำชาวต่างชาติเกี่ยวกับประเทศไทยไม่ก็งานอีเวนท์เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย ควรหาข้อมูลไปเผื่อล่วงหน้า(แต่ไม่ได้จำเป็นขนาดนั้น) ให้พยายามมีส่วนร่วมกับกลุ่มมากๆ ส่วนสัมภาษณ์เดี่ยว เป็นการถามตอบทั่วๆไปเช่นเดียวกับวายเอฟยูคือ แล้วแต่ดวงว่าใครจะต้องฟังและตอบเป็นภาษาอังกฤษใครได้ภาษาไทย คำถามยอดฮิตคือ ทำไมถึงอยากเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนประเทศนี้ หวังอะไรจากการไปแลกเปลี่ยน ถ้าเกิดเหตุการณ์...บลาๆ...จะทำยังไง และ ทำไมโครงการถึงต้องเลือกเรา 
ส่วนพวกที่ยังไม่ได้สอบสัมภาษณ์ก็จะมีกิจกรรมเอนเตอร์เทนน้องๆจากพี่เอเอฟเอสรุ่นก่อนๆ เล่นเอาสนุกๆมันส์ๆ ~ หมายเหตุว่าสัมภาษณ์เอเอฟเอสดูเหมือนง่ายนะคะ แต่ในความคิดเรามันค่อนข้างยากเลยทีเดียว

บอกพื้นเพก่อน YFU เป็นโครงการที่แยกมาจากAFS ถ้าเอามาเปรียบเทียบกัน ก็ถือว่าดูแลเอาใจใส่ได้ทั่วถึงมากกว่า เพราะเด็กน้อยกว่า แต่เอเอฟอยู่มานานและมีชื่อเสียงมากกว่าค่ะ 
ตอนรอผลสัมภาษณ์ ทั้งวายเอฟยูและเอเอฟเอสจะมีการเป็นสำรอง ซึ่งการเป็นตัวสำรองของสองที่ก็ต่างกัน 
วายเอฟยูจะแบ่งตัวสำรองเป็นประเทศๆโดยที่เราก็สิทธิ์ที่จะเปลี่ยนได้ในกรณีที่ไม่มีใครเลือกชนกันแล้วที่ว่างไม่พอ ถ้ามีที่ว่างไม่พอ ทางโครงการจะตัดสินจากคะแนนสอบ
ส่วนเอเอฟเอส จะรวมสำรองและเรียงอันดับจากคะแนน จะมีวันที่ให้เราไปเลือกประเทศโดยค่อยๆเรียกสำรองทีละลำดับไปเลือกประเทศที่เหลือโควต้า ทำให้อันดับท้ายๆจะมีตัวเลือกน้อยลง

จบแล้วค่ะ ปฐมบทของการผลักตัวเองมาเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน ลองสอบดูทั้งสองที่เลยนะคะ ดีทั้งคู่เลย แล้วแต่จะเลือกแล้วแต่จะชอบ ตัดสินใจกันดีๆ สู้ๆนะคะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น